วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เศรษฐศาสตร์จุลภาค

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (อังกฤษ: Microeconomics) เป็นเศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือน และบริษัท ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด[1] โดยเฉพาะในตลาดซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและบริการ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาว่าพฤติกรรมและการตัดสินใจเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นตัวกำหนดราคา และในทางกลับกัน ราคากำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการอย่างไร[2][3]
จุดประสงค์หนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการวิเคราะห์กลไกตลาดซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาเปรียบเทียบระหว่างสินค้าและบริการ และการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อใช้ในทางเลือกต่าง ๆ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาเกี่ยวกับความล้มเหลวของตลาด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กลไกตลาดไม่สามารถทำให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพได้ และยังอธิบายเกี่ยวกับข้อแม้ทางทฤษฎีที่จำเป็นต่อการเกิดการแข่งขันสมบูรณ์ สาขาที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์จุลภาค เช่นดุลยภาพทั่วไป ตลาดภายใต้ความไม่สมมาตรของข้อมูล การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมในทางเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์ (อังกฤษ: Applied Microeconomics) เป็นการศึกษาที่มีขอบเขตซึ่งรวมไปถึงการศึกษาที่เจาะจงเฉพาะด้านด้วย สาขาที่เกี่ยวกับทางด้านประยุกต์ส่วนมากมักจะใช้เรื่องเกี่ยวกับ ทฤษฎีราคา (Price Theory), อุปสงค์ และ อุปทาน (Demand & Supply), การจัดการอย่างเป็นระบบในด้านอุตสาหกรรม (Industrial Organization) และ การควบคุม (Regulation) หัวข้อที่จะสนใจศึกษา อย่างเช่น การเข้าและการออกคนงานของบริษัท, นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์, บทบาทของเครื่องหมายการค้า, กฎหมาย และ เศรษฐศาสตร์ เพียงเล็กน้อยหรือมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับสาขาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหลักการเลือกใช้ เศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์นั้น จะขึ้นอยู่กับ enforcement of competing, กฎหมาย, ระบบการปกครอง และ their relative efficiencies ยกตัวอย่างเช่น
  • เศรษฐศาสตร์แรงงาน (Labour Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับ ค่าจ้าง, การจ้างงาน และการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน
  • การคลังสาธารณะ (Public Finance) บางครั้งก็จะถูกเรียกว่า เศรษฐศาสตร์สาธารณะ (Public Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับ การกำหนดภาษีของภาครัฐบาล, นโยบายของค่าใช้จ่าย และ ผลทางเศรษฐกิจของนโยบายเหล่านั้น (เช่น โปรแกรมด้านประกันทางสังคม)
  • เศรษฐศาสตร์การเมือง (Politicial Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันทางการเมืองในการพิจารณาผลของนโยบาย
  • เศรษฐศาสตร์สุขภาพ (Health Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับ องค์กรของระบบการดูแลสุขภาพ รวมทั้งบทบาทของ พนักงานการดูแลสุขภาพ และ โปรแกรมการประกันสุขภาพ
  • เศรษฐศาสตร์เมือง (Urban Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเมือง เช่น การขยายตัวของเมือง, มลพิษทางอากาศและทางน้ำ, ปัญหาการจราจร, ความยากจน และ วางแผนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์เมืองและสังคมวิทยา
  • เศรษฐศาสตร์การเงิน (Financial Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับโครงสร้างของ พอร์ต การ ลงทุน ที่ ดี ที่สุด ให้ อัตรา ผล ตอบแทน ให้ ทุน การ วิเคราะห์ เศรษฐมิติ ของ ผล การ รักษา ความ ปลอดภัย และ พฤติกรรมทางการเงินของบริษัท
  • ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ (Economic History) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ เศรษฐกิจ และ สถาบันทางเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีการและเทคนิค มาจากทางด้าน เศรษฐกิจ, ประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์, สังคมวิทยา, จิตวิทยา และ รัฐศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น